คอนกรีตพิเศษและบริการพิเศษ
เป็นที่รวบรวมคุณสมบัติของคอนกรีตพิเศษต่างๆ และบริการพิเศษของคอนกรีตรถเล็กซีแพค

คอนกรีตพรุนซีแพค 

CPAC Porous Concrete

   ปัญหาน้ำท่วมขังพื้นคอนกรีตเนื่องจากการระบายน้ำไม่ทันเป็นปัญหามักเกิดขึ้นบ่อย และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สัญจรไปมา นอกจากนี้ยังทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรคต่างๆ และยังไม่สะดวกต่อการเดินทางหรือการคมนาคมได้อีกด้วย
    ปัจจุบันการออกแบบระบบระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเริ่มเข้ามามีบทบาทในการจัดการปัญหาต่างๆที่จะตามมา ซึ่งคอนกรีตพรุนซีแพค หรือ CPAC Porous Concrete เป็นคอนกรีตพิเศษที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ นอกจากคอนกรีตพรุนซีแพคจะมีน้ำหนักเบา ยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนรวมถึงเสียงยานพาหนะได้ดี ยิ่งไปกว่านั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบ ตกแต่งเพื่อความสวยงามได้อย่างลงตัว

 
คอนกรีตพรุนซีแพคคืออะไร 
What is CPAC Porous Concrete?
   
คอนกรีตพรุนซีแพค คือ คอนกรีตที่มีความพรุนสูงสามารถระบายน้ำได้ดี จากการออกแบบโดยกลุ่มนักวิจัยและวิศวกร    ซีแพคให้มีปริมาณช่องว่างในเนื้อคอนกรีตที่เหมาะสม โดยคอนกรีตพรุนซีแพคมีช่องว่างภายในที่ต่อเนื่อง (Interconnection Void) ขนาดตั้งแต่ 2 - 8 มม. ซึ่งขนาดช่องว่างเหล่านี้จะทำหน้าที่ให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก  ซึ่งคอนกรีตพรุนซีแพคมีกำลังอัดประมาณ 140 กก./ตร.ซม. (ทรงกระบอก) คอนกรีตพรุนซีแพคเหมาะสำหรับการก่อสร้างหลายๆ ประเภท โดยเฉพาะพื้นที่ต้องการการระบายน้ำได้ดี เช่น พื้นลานจอดรถ, ลานบริเวณรอบที่พักอาศัย, พื้นบริเวณรอบสระว่ายน้ำ, ถนนในหมู่บ้าน (Light Traffic) และถนนภายในสนามกอล์ฟ เป็นต้น

คอนกรีตพรุนซีแพคระบายน้ำได้อย่างไร
Smart drainage system of Porous Concrete 
    น้ำสามารถซึมผ่านเข้าสู่โครงสร้างคอนกรีต โดยผ่านช่องว่างที่ถูกออกแบบให้ต่อเนื่องกัน (Interconnected Void) จากการซึมผ่านของแรงดันน้ำ (Hydraulic Permeability) และการซึมผ่านของแรงตึงผิวน้ำ (Water Absorbed by Capillary Action) ดังนั้น การเพิ่มการซึมผ่านของน้ำในโครงสร้างคอนกรีตสามารถทำได้โดยเพิ่มช่องว่างที่เชื่อมต่อกันให้มากที่สุดนั่นเอง ซึ่งการก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตให้มีการระบายน้ำที่ดีโดยทำให้คอนกรีตมีช่องว่างที่เชื่อมต่อกันให้มากที่สุดนั้นสามารถทำได้โดย
  • การออกแบบส่วนผสมที่ดีทั้งด้านความต่อเนื่องของช่องว่าง และกำลังอัด
  • มีวิธีการทำงานที่ถูกต้องและการอัดแน่นคอนกรีตอย่างถูกวิธีโดยไม่ไปอุดช่องว่างในเนื้อคอนกรีต

    โครงสร้างหลักของ CPAC Porous Concrete นั้นประกอบไปด้วยเฟสของซีเมนต์เพสท์ (Cement paste) มวลรวม และ ช่องว่างที่ต่อเนื่องกันภายใน (Interconnection void) โดยเฟสของ Cement paste จะทำหน้าที่เป็นเหมือนกาวเชื่อมประสานให้มวลรวมยึดติดเข้าด้วยกันและเป็นตัวที่รับกำลังเป็นหลัก โดยมวลรวมที่ยึดติดกันนั้นเป็นมวลรวมที่มีขนาดคละขาดช่วง (Gap grade) ทำให้โครงสร้างของคอนกรีตพรุนซีแพคมีปริมาณช่องว่างอากาศภายในที่ต่อเนื่องกันมากกว่าคอนกรีตปกติทั่วไป จึงส่งผลให้คอนกรีตพรุนซีแพคมีความสามารถยอมให้น้ำซึมผ่านได้มากกว่าคอนกรีตปกติ

 





ตอกย้ำอย่างมั่นใจด้วยผลการทดสอบ
Assurance with Test Results
   
ซีแพคได้ทำการทดสอบการซึมผ่านน้ำ CPAC Porous Concrete เทียบกับคอนกรีตปกติ เพื่อยืนยันคุณสมบัติการระบายน้ำที่เหนือกว่า โดยให้น้ำไหลผ่านตัวคอนกรีตพรุนซึ่งอาศัยหลักการให้น้ำมีการไหลคงที่ จับเวลาการไหลและปริมาตรของน้ำที่ไหลผ่านคอนกรีตพรุน แล้วคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำ (Coefficient of Permeability) โดยอาศัยสมการของดาร์ซี (Darcy’s Expression) ซึ่งผลทดสอบแสดงให้เห็นว่าค่า Void Content ของคอนกรีตพรุนอยู่ในค่าที่เหมาะสมคือ 20-25 %

วิธีการก่อสร้างด้วยคอนกรีตพรุนซีแพค 
Construction Method for CPAC Porous Concrete
    นอกจากต้องมีการออกแบบที่ดีแล้ว ปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้การใช้คอนกรีตพรุนซีแพคมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ วิธีการทำงานที่ถูกต้อง
 
1. การเตรียมดิน(Subgrade) ก่อนที่จะเริ่มเทคอนกรีต ชั้นดินเดิมต้องถูกอัดแน่น (90-96% Standard Proctor) เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการทรุดตัว และความเสียหายของชั้นคอนกรีตพรุน

2. การเตรียมชั้นรองผิวทาง (Subbase) ควรปูหินปูนหรือกรวดที่มีความสะอาดขนาด 1"-3/4" บดอัดให้มีความหนาอยู่ระหว่าง 6"-12" (150-300 มม.) ขึ้นกับลักษณะของดินเดิม  เพื่อช่วยในการระบายน้ำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. การเทคอนกรีต (Pouring) การเทคอนกรีตจากรางควรให้มีระยะตก (Free Fall) ไม่เกิน 90 ซม. ทั้งนี้เพื่อป้องกันการอัดแน่นกันของคอนกรีตที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการระบายน้ำ (Permeability Efficiency) เมื่อคอนกรีตถูกเทออกมาจากรถโม่แล้ว จะต้องทำการบดอัดโดยการใช้ลูกกลิ้งตามมาตรฐาน ACI 522 R ซึ่งจะทำให้คอนกรีตมีขนาดช่องว่างที่เหมาะสมและสามารถระบายน้ำได้ดี

4. การบ่ม (Curing) หลังจากขั้นตอนการเทเรียบร้อย ควรคลุมด้วยฟิล์มพลาสติกคลุมทันทีและบ่มชื้นต่อเนื่องอย่างน้อย 7-14 วัน เพราะคอนกรีตพรุนเป็นคอนกรีตแบบแห้ง (Dry Mix) มีน้ำในส่วนผสมอยู่น้อย มีโอกาสเกิดการระเหยของน้ำได้มากกว่า ดังนั้นจะต้องมีการบ่มให้คอนกรีตสามารถเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่นได้สมบูรณ์ที่สุด หากไม่มีการบ่มที่ดีเพียงพออาจมีผลต่อด้านกำลัง(Strength) และการหลุดร่อนของผิวหน้าคอนกรีต
 

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในงานคอนกรีตพรุนซีแพค 
Porous Concrete Considerations
    นอกจากตัวคอนกรีตพรุนซีแพคเองแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพิ่มเติมคือ ระบบการระบายน้ำของชั้นผิวทางและชั้นดินของพื้นที่นั้นๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้คอนกรีตพรุนซีแพคที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามการออกแบบนั่นเอง
  • ความสามารถในการซึมผ่านของน้ำที่ชั้นดินเดิม ควรมีการตรวจสอบค่าการซึมผ่าน ซึ่งชนิดของดินที่แนะนำควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดีและถ้าหากชั้นดินเดิมเป็นดินเหนียว ควรเพิ่มความหนาของชั้นหินรองพื้นทาง (Subbase; หิน ¾ - 1 นิ้ว) ให้มีความหนามากขึ้น
  • ในสถานที่ก่อสร้าง การเดินรถและอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากๆ ควรอยู่ภายนอกบริเวณพื้นที่ก่อสร้างคอนกรีตพรุนซีแพค ควรหลีกเลี่ยงการจราจรผ่านบริเวณที่กำลังทำการก่อสร้าง เพื่อป้องกันคอนกรีตพรุนเกิดการอัดแน่น ทำให้สูญเสียความสามารถในการระบายน้ำ
  • ควรมีการบำรุงรักษาและตรวจสอบคอนกรีตพรุนซีแพค ตามตาราง

ตารางแสดงการบำรุงรักษาและตรวจสอบคอนกรีตพรุนซีแพค

การบำรุงรักษา
ระยะเวลา
การตรวจสอบในระยะเริ่มต้น
ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือนหลังจากติดตั้ง
ตรวจสอบว่าถนนคอนกรีตพรุนปราศจากตะกอนอุดตัน
ทุกเดือน
ใช้เครื่องดูดฝุ่นที่พื้นผิวตามด้วยการฉัดอัดน้ำแรงดันสูง เพื่อให้ถนนคอนกรีตพรุนปราศจากตะกอนอุดตัน
4 ครั้ง/ปี ในกรณีที่เป็นถนนสาธารณะ
2 ครั้ง/ปี ถ้าเป็นลานหรือพื้นจอดรถในบ้าน
ตรวจสอบผิวถนนว่าเกิดการชำรุดหรือหลุดร่อน
ทุกปี
ตรวจสอบให้มั่นใจว่าคอนกรีตสามารถระบายน้ำฝนได้
ทุกปี